4/03/2553
นินจา
นินจา (忍者) หรือ ชิโนบิ (忍び) (ความหมาย: "ผู้คงทน") ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มนักฆ่า หรือสปาย ในช่วงสมัยเปลี่ยนการปกครองของประเทศญี่ปุ่น โดยขณะเดียวกันนินจาได้ถูกเปรียบเทียบกับซามูไร ซึ่งซามูไรเปรียบเหมือนนักสู้ที่ต่อสู้เบื้องหน้า ขณะที่นินจาเป็นนักสู้ที่ต่อสู้เบื้องหลัง นอกจากนี้มีการกล่าวกันว่ากลุ่มคนบางคนเป็นทั้งนินจาและซามูไรพร้อมกัน ในปัจจุบันไม่มีร่องรอยของบุคคลที่เป็นนินจาหลงเหลือ เหลือเพียงแต่ซามูไร สำหรับนินจาหญิงจะเรียกว่า คุโนะอิจิ
ประวัตินินจา เนื่องจากตามลักษณะของนินจาที่ได้ชื่อว่านินจาไม่เคยทิ้ง ร่องรอยอะไรไว้รวมถึงไม่กล่าวคุยโวเกี่ยวกับผลงานของตัวเอง ซึ่งทำให้ผลงานหรือชีวประวัติของนินจาถูกเก็บไว้เป็นความลับ ซึ่งเป็นการยากที่จะหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนินจา ในตำนานหนึ่งได้มีการกล่าวถึงมินาโมโตะ โนะ โยชิซึเนะ ว่าได้มีเทนงูมาสอนวิชามินาโมโตะ โนะ โยชิซึเนะเพื่อฝึกฝนเป็นนินจา โดยในประวัติศาสตร์ได้มีกล่าวไว้ว่ามีพระชาวจีนรูปหนึ่งมาสอนเกี่ยวกับตำราพิชัยสงครามให้ แก่มินาโมโตะ โนะ โยชิซึเนะ
โทงะคุเระ ริวได้กล่าวถึงนินจาในช่วงปลายยุคเฮอัน ไว้ว่านินจา ได้แบ่งออก เป็น 2 ฝ่ายหลัก คือ อิงะ และโคงะ ได้ร่วมต่อสู้กัน ซึ่งในนิยายหรือการ์ตูนจะกล่าวถึงการต่อสู้ระหว่างสองฝ่ายนี้
ในยุคคามะคุระ ได้มีประวัติศาสตร์กล่าวไว้ถึง คุสุโนะกิ มาซาชิเงะ ได้ใช้เทคนิคในการรบซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับวิชานินจา ต่อมาในช่วง ยุคเซนโงกุ(หรือที่รู้จักกันว่าเป็นยุคสงคราม) ไดเมียวที่มีชื่อเสียงทุกคนมีนินจาอยู่ภายใต้การปกครองสำหรับการเป็นสปายแอบสืบข้อมูลของฝ่ายตรงข้าม ในยุคสงครามการรู้ข้อมูลและแผนการของฝ่ายข้าศึก จะทำให้มีชัยชนะเหนือกว่า ไดเมียวบางคนได้ถูกกล่าวว่าเป็นนินจาเอง ซานาดะ ยูคิมูระ หัวหน้ากลุ่มซานาดะ ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มนินจา หลังจากที่ซานาดะ ยูคิมูระนำกลุ่มทหารเพียง 3,000 คนปกป้องปราสาท สู้กับกองทัพ 50,000 คนของโทกุงาวะ ฮิเดทาดะ
ในยุคเดียวกัน โทกุงาวะ อิเอยาสุ ได้มีการใช้นินจา จนท้ายที่สุดได้ชนะสงครามและตั้งตัวเป็นโชกุนของประเทศญี่ปุ่น มีการกล่าวถึงผลงานกลุ่มนินจา นำโดยฮัตโตริ ฮันโซ หัวหน้ากลุ่มนินจาฝ่ายอิงะ เป็นผู้นำทางให้อิเอยาสุหลบหนีออกมาในช่องเขานาระภายหลังจากที่ลอบโจมตีทัพของ โอดะ โนบุนากะ สงครามครั้งสุดท้ายที่มีการกล่าวถึงนินจา ในช่วงยุคของโชกุนโทกุงาวะ คือสงครามกลางเมืองที่ชิมาบาระ ของกลุ่มชาวนาที่โกรธแค้นฝ่ายรัฐบาลที่เรียกเก็บภาษีแพง เมื่อสิ้นสุดสงครามนินจาเริ่มหมดหน้าที่ โดยนินจาบางคนได้มาเป็นโอนิวะบันชู กลุ่มรักษาความปลอดภัยของปราสาทเอโดะ ทำหน้าที่ปกป้องผู้ร้ายและขณะเดียวกันก็แอบสืบข้อมูลของไดเมียวคนอื่น นินจาคนอื่นจะเก็บตัวปลอมปนกับชาวนาโดยยังคงฝึกฝนตัวเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อพร้อมที่จะได้ใช้วิชานินจาที่อาจจะมีสงครามเกิดขึ้น ในช่วงยุค 200 ปีหลังจากของตระกูลโทกุงาวะ ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงใดเกิดขึ้น ทำให้ไม่มีการสืบต่อวิชานินจา โดยมีการสืบต่อผ่านทางปากต่อปากและคนสนิทเท่านั้น
ในยุคเอโดะ นินจาได้เป็นที่นิยมในหนังสือและการแสดง วิชานินจาต่างๆ รวมทั้ง การล่องหน การกระโดดสูง การท่องมนต์นินจา และการเรียกกบยักษ์มาช่วยต่อสู้ ถูกสร้างขึ้นในยุคนี้สำหรับใช้ประกอบในการแสดง เพื่อความบันเทิง
จักรราศรี(ภาษาญี่ปุ่น)
22 ธ.ค. -19 ม.ค. ถือเป็น ราศรีมังกร ภาษาญี่ปุ่นคือ やぎ อ่านว่า ยะกิ
20 ม.ค. - 18 ก.พ. ถือเป็น ราศรี กุมภ์ ภาษาญี่ปุ่นคือ みずがめ อ่านว่า มิสุกะเมะ
19 ก.พ. - 20 มี.ค. ถือเป็น ราศรีมีน ภาษาญี่ปุ่นคือ うお อ่านว่า อุโอะ
21 มี.ค.-19 เม.ย. ถือเป็น ราศรีเมษ ภาษาญี่ปุ่นคือ おひつじ อ่านว่า โอะฮิทสึจิ
20 เม.ย. - 20 พ.ค. ถือเป็นราศรีพฤษภ ภาษาญี่ปุ่นคือ おうし อ่านว่า โอ้ฉิ
21 พ.ค.-20 มิ.ย. ถือเป็น ราศรีเมถุน ภาษาญี่ปุ่นคือ ふたご อ่านว่า ฟุทะโงะ
21 มิ.ย.-22 ก.ค. ถือเป็น ราศรีกรกฎ ภาษาญี่ปุ่นคือ かに อ่านว่า คะนิ
23 ก.ค.-22 ส.ค. ถือเป็นราศรีสิงห์ ภาษาญี่ปุ่นคือ しし อ่านว่า ชิฉิ
23 ส.ค.-22 ก.ย. ถือเป็นราศรีกันย์ ภาษาญี่ปุ่นคือ おとめ อ่านว่า โอะโทะเมะ
23 ก.ย. - 22 ต.ค. ถือเป็นราศรีตุลย์ ภาษาญี่ปุ่นคือ てんびん อ่านว่า เท็มบิน
23 ต.ค. - 21 พ.ย. ถือเป็นราศรีพิจิก ภาษาญี่ปุ่นคือ さそり อ่านว่า ซะโซะริ
เป็นสาวๆหนุ่มๆ ราศรีไหนกันบ้างคะ
คำศัพท์ญี่ปุ่นเบื้องต้น 1
あし (ashi)อ่านว่า อะชิ แปลว่า เท้า
いし (ishi)อ่านว่า อิชิ แปลว่า ก้อนหิน
うし (ushi) อ่านว่า อุชิ แปลว่า วัว
くし (kushi) อ่านว่า คุชิ แปลว่า หวี
おかし (okashi) อ่านว่า โอคาชิ แปลว่า ขนม
かお(kao) อ่านว่า คะโอะ แปลว่า ใบหน้า
き(ki) อ่านว่า คิ แปลว่า ต้นไม้
け (ke)อ่านว่า เคะ แปลว่า ขน
さけ (sake)อ่านว่า ซะเคะ แปลว่า เหล้าสาเก
え(e) อ่านว่า เอะ แปลว่า รูปภาพ
こえ (koe)อ่านว่า โคะเอะ แปลว่า เสียง
しお(shio) อ่านว่า ชิโอะ แปลว่า เกลือ
いす(isu) อ่านว่า อิซุ แปลว่า เก้าอี้
あせ(ase) อ่านว่า อะเซะ แปลว่า เหงื่อ
そこ (soko) อ่านว่า โซะโคะ แปลว่า ที่นั่น
たけ (take) อ่านว่า ทะเคะ แปลว่า ไม้ไผ่
はたけ (hatake) อ่านว่า ฮะทะเคะ แปลว่า ไร่นา
て (te) อ่านว่า เทะ แปลว่า มือ
と (to) อ่านว่า โทะ แปลว่า ประตู
ひ (hi) อ่านว่า ฮิ แปลว่า พระอาทิตย์
くち (kuchi) อ่านว่า คุฉิ แปลว่า ปาก
にく(niku) อ่านว่า นิคุ แปลว่า เนื้อ
ねこ (neko) อ่านว่า เนะโคะ แปลว่า แมว
ふね (fune) อ่านว่า ฟุเนะ แปลว่า เรือ
いぬ (inu) อ่านว่า อินุ แปลว่า สุนัข
つの (tsuno) อ่านว่า ทซึโนะ แปลว่า เขาสัตว์
ほし(hoshi) อ่านว่า โฮชิ แปลว่า ดวงดาว
へい(hei) อ่านว่า เฮอิ แปลว่า กำแพง
さかな(sakana) อ่านว่า ซะคะนะ แปลว่า ปลา
つくえ(tsukue) อ่านว่า ทซึคุเอะ แปลว่า โต๊ะ
เจอกันใหม่ค่า
ตะเกียบญี่ปุ่น...
ตะเกียบ เป็นเครื่องมือสำหรับรับประทานอาหารอย่างหนึ่งที่ มีความหมายในทางสัญลักษณ์สำหรับคนญี่ปุ่น มีคำกล่าวเกี่ยวกับตะเกียบไว้ว่า ชีวิตของคน ๆ หนึ่ง เริ่มต้นด้วยตะเกียบและจบลงด้วยตะเกียบ ในช่วงอายุที่เป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตค่ะชาวญี่ปุ่นจะมีการจัดพิธีที่เกี่ยวข้องกับตะเกียบตลอดช่วงชีวิต เมื่อทารกน้อยมีอายุได้ 100 วัน พ่อแม่จะจัดการฉลองที่เรียกว่า คุอิโสะเมะ (อาหารมื้อแรก) และทารกน้อยจะได้พบกับตะเกียบเป็นครั้งแรก ส่วนพีธีฉลองอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับตะเกียบ ได้แก่ เอ็นมุซุบิ (การจับคู่) ฮะฌิเมะโอะโตะ (คู่แต่งงาน) ฮะฌิ ในการงานแต่งงาน และ โซจู (อายุยืนยาว) ฮะฌิ ในทาง-ศาสนาพุทธของญี่ปุ่น เมื่อมีคนตาย จะใช้ผ้าหรือสำลีพันปลายตะเกียบแบบฉีก ซึ่งชุ่มชื้นด้วยน้ำมะท์ซุโงะโนะมิสุ (น้ำหยดสุดท้าย) แตะที่ริมฝีปากของผู้ตาย ส่วนถ้วยข้าวที่วางอยู่บนหัวนอน ปักตะเกียบหนึ่งอัน มีความหมายว่า ผู้ตายจะได้ไม่อดอยากในโลกหน้k
เคยมีคำกล่าวกันว่า วิญญาณของคน ๆ หนึ่ง จะเข้าไปอยู่ในตะเกียบของตัวเอง ดังนั้น เมื่อใช้แล้วจึงควรหักทิ้งไป แม้ในปัจจุบัน แต่ละคนก็จะมีตะเกียบของตัวเอง และใช้ตะเกียบคู่นั้นเป็นประจำ
ในงานฉลองปีใหม่ ใช้ตะเกียบที่ทำจากไม้ต้นหลิว สีขาวไม่ทาสี ปลายแหลมทั้งสองด้าน ต้นหลิว (ยะนะงิ) เมื่อเขียนด้วยอักษรจีน เพื่อให้ออกเสียงว่า ยะนะงิ มีความหมายว่า "ความรื่นรมย์ยินดีภายในบ้าน" ซึ่งถือว่าเป็นมงคล เนื่องจากมีปลายแหลมทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งจึงมีไว้สำหรับเทพเจ้า และอีกด้านหนึ่งสำหรับมนุษย์ซึ่งเท่ากับว่ามนุษย์กับเทพเจ้ารับประทาน กินอาหารร่วมกันตามเชื่อในลัทธิชินโตค่ะ
คนญี่ปุ่นจะใช้ตะเกียบเพียงอย่างเดียวในการรับประทานอาหาร ในการรับประทานซุปจะยกถ้วยซุปขึ้นมาแล้วดื่มโดยตรงจากถ้วย การหยิบอาหารจากจานส่วนกลาง ควรใช้ โทะริ-บะฌิ (ตะเกียบกลาง) ห้ามใช้ จิกะ-บะฌิ (ตะเกียบส่วนตัว) ใช้คีบอาหารเข้าปาก ตะเกียบส่วนใหญ่ทำจากไม้และไม้ไผ่ค่ะ
นอกจากญี่ปุ่นแล้ว จีน ไต้หวัน เกาหลี เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นประเทศที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักก็ใช้ตะเกียบเป็นอุปกรณ์ในการรับประทาน แต่ประเทศอื่นๆเหล่านั้นจะใช้ช้อนร่วมกับตะเกียบ โดยที่ใช้ช้อนในการตักน้ำซุปขึ้นรับประทาน แทนการยกถ้วยซุปขึ้นดื่มค่ะ ในขณะที่ญี่ปุ่นใช้ตะเกียบเพียงอย่างเดียว และแทนที่จะใช้ช้อนตักอาหารเข้าปาก จึงเกิดประเพณีที่คนญี่ปุ่นรับประทานข้าวโดยยกถ้วยขึ้นมาใกล้ปาก กล่าวกันว่า 30%ของประชากรในโลกใช้ตะเกียบ อีก30% ใช้มีดและส้อม ที่เหลืออีก 40%ใช้มือในการรับประทานค่ะ
วงอาราชิ
ภาพตอนเดบิ้วใหม่ๆ
นึกขึ้นได้ว่า ปีนี้อาราชิ 10 ปีแล้วนี่นาา เป็นวงแรกที่ชอบเลยแหละ ตอนนั้นก็อยากจะระลึกความหลังสักเล็กน้อย
เข้าใจว่าคนในบอร์ดหลายๆคน คงไม่รู้จักวงนี้ด้วยซ้ำไปมั้ง เพราะตอนนี้ญี่ปุ่นไม่แรงเหมือนตะก่อนละ
ประวัติย่อๆ
อาราชิ เป็นกลุ่มศิลปินกลุ่มหนึ่งจากประเทศญี่ปุ่น โดยสมาชิก 3 ใน 5 อย่าง ไอบะ มาซากิ นิโนะมิยะ คาซึนาริ และ มัตซึโมโตะ จุน เคยอยู่ในยูนิตเดียวกันสมัยที่เริ่มเข้าจูเนี่ยร์ใหม่ๆ คือ MAIN เป็นยูนิตที่ฟอร์มวงจากละครเวที Stand By Me ซากุราอิ โช เคยอยู่ยูนิตเดียวกับ อิมาอิ ส่วน ซาโตชิ โอโนะ นั้นเป็นรุ่นพี่ที่เด่นในด้านละครเวที และก่อนเดบิวเพียง 5 เดือนก็เป็นสมาชิกของ Musical Academy อีกด้วย
พายุที่ถูกสร้างโดยคุณจอห์นนี่ได้พัดให้ทั้ง 5 มารวมกันได้อย่างลงตัว มีการเดบิ้วที่ฮาวายในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1999 และเดบิ้วอย่างเป็นทางการที่ประเทศญี่ปุ่นในวันต่อมา (16 กันยายน ค.ศ. 1999) ซึ่งสมาชิกทั้ง 5 ให้สัมภาษณ์เป็นเสียงเดียวกันว่า "ผมเพิ่งทราบก่อนแถลงข่าวการเดบิ้วแค่ 1 อาทิตย์เองว่า จะต้องเป็น 1 ใน ARASHI"
มีลีดเดอร์หรือหัวหน้าวงคือ ซาโตชิ โอโนะ ที่เป่ายิงฉุบชนะ ซากุราอิ โช 1-0 ในรายการ'「少年隊夢」ของ Shounetai ทุกคนลงความเห็นว่าเป็นโอโนะ แต่โอโนะจะให้โชเป็นหัวหน้า รุ่นพี่เลยสั่งให้เป่ายิงฉุบ สรุปว่า โอโนะชนะโช (กระดาษต่อค้อน) จึงได้เป็นหัวหน้า ที่พูดแต่คำว่า "ไม่เอา แบบนี้ผมก็แย่สิ" ทุกวันนี้สมาชิกก็เรียก "ลีดเดอร์" ด้วยน้ำเสียงล้อเลียน เหมือนครั้งแรกที่โอโนะได้เป็นลีดเดอร์ไม่เปลี่ยน
โดยชื่อของวงอ่านว่า 「嵐」 ที่แปลเป็นภาษาไทยว่า "พายุ"
4/02/2553
คำกิริยาภาษาญี่ปุ่นที่ควรรู้
คำกิริยาที่ควรรู้
Imasu = มี (สิ่งมีชีวิต) iru
Arimasu = มี (สิ่งมีชีวิต) aru
Desu = เป็น , อยู่ , คือ คล้ายกับ Verb to be ในภาษาอังกฤษ แต่ จะอยู่ท้ายสุดของประโยคเสมอ
Wasuremasu = ลืม wasureru
Ikimasu = ไป iku
Tabemasu = กิน taberu
Mimasu =ดู , มอง miru
Hanashimasu = พูด hanasu
Iimasu = พูด , บอก iu
Aimasu = พบ au
Shimasu = ทำ suru
Benkyo shimasu = เรียน benkyo suru
Utaimasu = ร้องเพลง utau
Kaimasu = ซื้อ kau
Kaerimasu = กลับบ้าน kaeru
Kakimasu = เขียน kaku
Wakarimasu = เข้าใจ wakaru
Nomimasu = ดื่ม nomu
Machimasu = รอ matsu
Yomimasu = อ่าน yomu
Kikimasu = ฟัง kaku
Hatarakimasu = ทำงาน hataraku
Hajimarimasu = เริ่มต้น hajimaru
Owarimasu = เลิก owaru
Arukimasu = เดิน aruku
Kaburimasu = สวมหมวก kaburu
Nakimasu = ร้องไห้ naku
Naraimasu = เรียน narau
Tachimasu = ยืน tatsu
Shinimasu = ตาย shinu
Suwarimasu = นั่ง suwaru
Demasu = ออก deru
Oshierimasu = สอน oshieru
Okimasu = ตื่น okiru
Nemasu = นอน neru
Tomemasu = จอด tomeru
Oboemasu = จำ oboeru
Ai shimasu = รัก ai suru
Ryokou shimasu = เที่ยว ryokou suru
กิริยาที่ได้บอกไปบ้างแล้วนั้นอยู่ในรูปสุภาพ –masu (ด้านซ้าย) ส่วนด้านขวาคือรูปธรรมดาภาษาญี่ปุ่นนั้นก็มีทั้งรูปสุภาพและไม่สุภาพ เช่น คำว่า tabemasu ที่แปลว่ากิน และ อยู่ในรูปสุภาพ จะเปลี่ยนเป็นรูปธรรมดาคือคำว่า taberu เป็นการผันกิริยาชนิดหนึ่งในหลายชนิด ซึ่งการผันกิริยาบางชนิด ยากมากจะเห็นว่าญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการพูดมาก ทำให้คำๆเดียวผันได้เป็นสิบๆแบบสำหรับการทำคำกิริยาให้เป็นรูปปฏิเสธ ถ้ากิริยานั้นอยู่ในรูปสุภาพ ให้เปลี่ยน –masu เป็น –masenถ้าเป็นรูปธรรมดาให้เติม –anai หรือ –nai ไว้ท้ายกิริยานั้น เช่น tabemasen หรือ tabenai
4/01/2553
การขอบคุณและขอโทษภาษาญี่ปุ่น
ありがとう (อา-ริ-กา-โต):: ขอบคุณ
ありがとう ございます。 (อา-ริ-กา-โต โกะ-ซา-อิ-มาซ) :: ขอบคุณค่ะ(ครับ)
どうも ありがとう (โด-โมะ อา-ริ-กา-โต):: ขอบคุณมาก
どうも ありがとう ございます。(โด-โมะ อา-ริ-กา-โต โกะ-ซา-อิ-มาซ) :: ขอบคุณมากค่ะ(ครับ)
การตอบรับการขอบคุณ
どういたしまして (โด-อิ-ตา-ชิ-มา-ชิ-เตะ) :: ไม่เป็นไรค่ะ(ครับ)
こちらこそ (โคะ-ชิ-ระ-โค-โซะ) :: ด้วยความยินดีค่ะ(ครับ)
การขอโทษ
すみません。 (ซึ-มิ-มา-เซน) :: ขอโทษ(ค่ะ/ครับ)
*เอาไว้ใช้เมื่อทำผิดเล็กๆน้อยๆ เช่น เวลาไปเหยียบเท้าใคร หรือว่า เอาไว้ใช้แทนexcuse meก้อได้*
ごめんなさい。 (โกะ-เมน-นา-ไซ) :: ขอโทษ(ค่ะ/ครับ)
*เอาไว้ใช้เมื่อทำผิดแรงๆ เช่น ขับรถชนหมาใครตาย..ประมาณนั้น*
ほんとうに ごめんなさい (ฮน-โท-นิ โกะ-เมน-นา-ไซ) :: ขอโทษ(ค่ะ/ครับ)
*เอาไว้ใช้เมื่อทำผิดร้ายแรงมาก เช่น ไปทำจานใบละ10ล้านแตก..ประมาณนั้น*
การตอบรับการขอโทษ
いいですよ (อี-เดซ-โยะ) :: ไม่เป็นไร [that's ok]
ごしんぱいなく (โกะ-ชิน-ไพ-นา-คุ) :: ไม่ต้องห่วง [dont worry about it]
きに しないで (คิ-นิ ชิ-นะ-อิ-เดะ):: ช่างมันเถอะ [never mind]
しんぱい しないで (ชิน-ไพ ชิ-นะ-อิ-เดะ):: ไม่เป็นไรหรอก [that's all right]
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยแมวญี่ปุ่น
ไทยมีรถรางเป็นประเทศแรกในเอเชียหรือนี่?
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อแหละค่ะว่า ไทยเรามีรถรางก่อนญี่ปุ่นเขาเสียอีก โดยเรามีรถรางตั้งแต่ปีพ.ศ. 2430 หรือในราวรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ซึ่งก่อตั้งโดยชาวเดนมาร์ค ซึ่งขณะนั้นยังไม่เป็นรถรางไฟฟ้าแต่ใช้ม้าลากกันก่อน จนถัดมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2437 ก็เริ่มใช้เป็นรถรางเต็มตัว ใช้กันจนเป็นที่คุ้นเคยแต่ก็ดูไม่ค่อยจะประสบผลสำเร็จสักเท่าไหร่ รถรางบ้านเราถึงได้ถูกเปลี่ยนมือบริหารหลายต่อหลายบริษัท จนในที่สุดก็ต้องปิดกิจการลง โดยวิ่งเป็นวันสุดท้ายในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2511 หรือในเดือนนี้เมื่อ 41 ปีที่แล้ว สิริรวมแล้วกว่า 80 ปีที่รถรางเปิดดำเนินกิจการให้คนไทยได้มีโอกาสใช้กัน อ่านแล้วก็ชวนสงสัยเหมือนกันนะคะว่า ไทยเรามีรถรางใช้ก่อนญี่ปุ่น แต่ดูว่าญี่ปุ่นเขาจะพัฒนาอะไรๆ ไปไกลกว่าเราหลายเท่าเลยทีเดียว ว้า... เอ้า..อย่าเครียดดีกว่า เอาเป็นว่าหากหนุ่มสาวรุ่นเก๋าอยากหวนรำลึกบรรยากาศการนั่งรถรางอีกครั้งหรือหนุ่มสาวรุ่นใหม่ไปจนถึงลูกเล็กเด็กแดงที่อยากจะลองนั่งดูบ้าง ก็ไปลองกันได้เลยเพราะทางกรุงเทพมหานครมีรถรางรุ่นเครื่องยนต์ให้บริการพาเที่ยวรอบกรุงรัตนโกสินทร์ทุกวัน โดยวันจันทร์-ศุกร์ เสียค่าบริการท่านละ 30 บาท ส่วนเสาร์-อาทิตย์ ฟรีจ้า
*** ขอบคุณเกร็ดความรู้ดี ๆ จาก DHC Thailand นะคะ ****